ประวัติโรงเรียนกุหลาบวิทยา

จากวันนั้น… ถึงวันนี้
กว่าจะเป็น… “กุหลาบวิทยา”

สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ ทุกสิ่งทุกอย่างเริ่มเข้าสู่ปกติ พ่อค้าคหบดีของวัดกาลหว่าร์    ได้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในบริเวณวัดกาลหว่าร์ โดยใช้สถานที่อาคารของวัด  การใช้จ่ายต่างๆ ถ้าไม่พอก็ร่วมกันออกให้พอเพียง กิจการได้ดำเนินไปด้วยดี ณ อาคารและสถานที่นี่ได้ให้กำเนิดนักเรียนมาเป็นจำนวนมาก เพราะตั้งแต่สร้างมาประมาณอายุไม่น้อยกว่า 60 ปี มีลูกหลานเป็นจำนวนมากมาย

โรงเรียนได้ดำเนินต่อมาในความควบคุมของคณะกรรมการสมาคม จนกระทั่งกระทรวงศึกษาธิการ  ได้ประกาศให้โรงเรียนที่เปิดสอนโดยมิได้รับอนุญาต ไปยื่นขอจัดตั้งภายในวันที่ 26 มีนาคม 2491  นายโก เซี่ยงอัน เป็นประธาน ได้ให้นายชัช นาคะทัต ช่วยจัดการยื่นขอต่อกระทรวงศึกษาธิการ   โดยให้นายเซ่งยิ้น แซ่ก้วย  เป็นเจ้าของและผู้จัดการ  นายชัช นาคะทัต  เป็นครูใหญ่   ยื่นขอในวันที่ 26  มีนาคม 2491  ซึ่งเป็นวันสุดท้ายและวันนี้เป็นวันเกิดอันถูกต้องของโรงเรียน “เทียนจู๋เจี้ยวเหมยกุ้ยเซียะเสี้ยว” เป็นชื่อที่ยาวและค่อนข้างจะจำยากมาก เมื่อสมาคมโอนโรงเรียนนี้มอบให้แก่วัดได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียน  “ซินเหมยกุ้ย” และโรงเรียน “กุหลาบวิทยา”  เพื่อต้องตามประสงค์ของกระทรวงศึกษาธิการ และตรงกับนามของวัดคือ Rosary Church

28 มิถุนายน 2491 สมาคมมอบโรงเรียนให้กับบาทหลวงโอลลี่เอร์ คุณพ่อเจ้าวัดได้รับไว้และแต่งตั้งให้บาทหลวงบุญไทย สิงห์เสน่ห์ เป็นเจ้าของและเป็นผู้จัดการ

ต่อมา บาทหลวงอาแมสตอยส์ รักษาการและเป็นคุณพ่อเจ้าวัด และบาทหลวงถาวร กิจสกุล    เป็นผู้จัดการแทน  หลังจากนั้น   ได้มีความคิดที่จะขยายชั้นเรียนให้สูงขึ้น จึงขออนุญาตพระสังฆราชหลุยส์โชแรง และได้รับอนุญาตเปลี่ยนสภาพเป็นโรงเรียนมัธยมวิสามัญศึกษาสอนภาษาอังกฤษแทน ขอรับเงินอุดหนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ ขณะที่บาทหลวงราแปง  เป็นคุณพ่อเจ้าวัดได้เชิญ บราเดอร์อาเทอร์ จากคณะเซนต์คาเบรียลมาช่วยเหลืองานโรงเรียน   และได้ขยายชั้นเรียนถึง ม.ศ.3 (ม.6) ขยายห้องเรียนเป็น 33 ห้อง รับนักเรียนได้ 1,310 คน 

นับแต่นั้นจนถึงยุคสมัยของ บาทหลวงกิมฮั้ง ดำรงตำแหน่งคุณพ่อเจ้าวัด และมี บราเดอร์เอ๊ดวาร์ด อี.เจ. เป็นอธิการโรงเรียน ได้เริ่มออกแบบและวางแผนก่อสร้าง อาคารเรียน 4 ชั้น จนมาสำเร็จลุล่วงในสมัยของ บราเดอร์เดชน์ เกิดสว่าง  อาคารเรียน 4 ชั้นหลังนี้ได้วางศิลาฤกษ์ ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2509 โดย คุณพ่อกิมฮั้ง คุณพ่อเจ้าวัด  เป็นประธานและทำพิธี   ครั้นมาถึงสมัยที่ภราดาวิจารณ์  ทรงเสี่ยงชัย ย้ายมาดำรงตำแหน่งอธิการโรงเรียน ในปี พ.ศ.2514      ท่านได้จัดตั้งสภานักเรียนขึ้น เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2516 เพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยของนักเรียน และแบ่งเบาภาระของครู
     
ต่อมา ได้มีนโยบายที่จะให้การบริหารโรงเรียนเป็นของบาทหลวงสังกัดอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  นับตั้งแต่ 16 กันยายน 2516 เป็นต้นไป โดยมีคุณพ่อประสาร คูรัตนสุวรรณ    เป็นบาทหลวงองค์แรกที่เป็นอธิการโรงเรียนและเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดกาลหว่าร์ด้วย   ซึ่งขณะนั้น คุณพ่อเสวียง ศุระศรางค์ เป็นเจ้าอาวาสและในสมัยคุณพ่อประสารนี้เอง ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียน 5 ชั้นขึ้น
    
วันที่ 1 พฤษภาคม 2522 ถึง10 พฤษภาคม 2524 คุณพ่อธวัช พันธุมจินดา ย้ายมาดำรงตำแหน่งแทนคุณพ่อประสารและในวันที่ 20 พฤษภาคม 2523  นี้เองได้เปิดใช้อาคารเรียน 5 ชั้น  และทำพิธีเสกและเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 ตุลาคม 2523 โอกาสฉลองวัดกาลหว่าร์

10  พฤษภาคม 2524  ถึง 8 เมษายน 2526     บาทหลวงไชโย กิจสกุล   คุณพ่อได้จัดสร้างห้อง Sound Lab บนชั้น 5 เพื่อความก้าวหน้าในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ และมีห้องสมุดเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้คุณครูและนักเรียนได้ค้นคว้าสรรพวิชาต่าง ๆ

8 เมษายน 2526 ถึง 1 พฤษภาคม 2528 บาทหลวงสุทศ ประมวลพร้อม  คุณพ่อได้จัดตั้งกองทุนสวัสดิการครูอันเป็นประโยชน์แก่คุณครูทุกคนมาจนถึงปัจจุบัน

21 มิถุนายน 2528 ถึง 30 เมษายน 2530 บาทหลวงธนันชัย กิจสมัคร คุณพ่อได้จัดหาเพลงมาร์ชกุหลาบวิทยา ซึ่งเป็นเพลงประจำโรงเรียน และให้ติดคำขวัญไว้หน้าตึก 5 ชั้นว่า “เวลาและวารีไม่คอยใคร”   คุณพ่อดำรงตำแหน่งครูใหญ่ที่เป็นพระสงฆ์องค์แรกแทนครูใหญ่ชัด นาคะทัต ซึ่งเกษียณอายุแล้ว

9 มิถุนายน 2530 ถึง 1 กันยายน 2533  บาทหลวงวิทยา คู่วิรัตน์  เป็นครูใหญ่องค์ต่อมา คุณพ่อได้แบ่งหน้าที่ผู้ช่วยครูใหญ่ออกเป็น 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายธุรการ และ ฝ่ายบริการ คุณพ่อจัดให้มีการอบรมสัมมนาอย่างหลากหลาย เพื่อเพิ่มพูนความรู้แก่คุณครูทุกท่าน

3 กันยายน 2533 ถึง 30 เมษายน 2538  บาทหลวงศุภศิลป์  สุขสุศิลป์ คุณพ่อดำรงตำแหน่งครูใหญ่นานถึง 5 ปี  ได้จัดสร้างห้องคอมพิวเตอร์บนตึกชั้น 5 เพื่อฝึกให้นักเรียนเรียนรู้ก้าวทันความเจริญของโลก
 
 2538 – 2543  บาทหลวงวุฒิเลิศ แห่ล้อม  ในสมัยของคุณพ่อได้ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงห้องพักครูและเปลี่ยนโต๊ะทำงานใหม่หมด ติดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้ใช้ประโยชน์ได้อเนกประสงค์ สร้างหลังคาบริเวณที่ว่างบนตึกชั้น 3 ให้ใช้ประโยชน์แทนการปล่อยไว้ให้ว่างเปล่า มีห้องกิจกรรม ห้องคำสอน ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ทาสีห้องเรียนตึก 4 ชั้นและ 5 ชั้น จนใหม่เอี่ยมสวยงาม ทำให้บรรยากาศการเรียนการสอนรื่นรมย์

พ.ศ. 2543 – 2547 สมัยบาทหลวงศุภกิจ เลิศจิตรเลขา เป็นเจ้าอาวาสและครูใหญ่ และมีบาทหลวงสุชาติ อุดมสิทธิพัฒนา เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาส ได้ดำเนินการปรับปรุงเขื่อนริมน้ำเป็นท่าเทียบเรือ (ท่าปิด)  ปรับพื้นสนามบริเวณ   ลานหน้าวัดและจัดทำลานอเนกประสงค์   ปรับปรุงโรงอาหารใต้อาคารเรียนริมน้ำ เป็นผู้ร่วมส่งเสริมและผลักดันให้ก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าและครูโรงเรียนกุหลาบวิทยา อีกทั้งยังดำเนินการต่อเติมหลังคาบริเวณหน้าอาคารเรียน 5 ชั้น มีการปรับรั้วที่กั้นบริเวณโรงเรียนกุหลาบวัฒนาและกุหลาบวิทยาให้เป็นรั้วโปร่ง ในด้านวิชาการ 
โรงเรียนเข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายนำร่อง การใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ริเริ่มให้คนในชุมชนเข้ามาสอนภาษาจีนให้กับนักเรียน  และ ให้ชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษเข้ามาสอนภาษาให้กับนักเรียน

พ.ศ. 2547  บาทหลวงสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์  เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาส มีบาทหลวงสุชาติ  อุดมสิทธิพัฒนา เป็นครูใหญ่ โรงเรียนได้เข้ารับการประเมินสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภายนอกรอบแรก ปรับปรุงห้องสมุดและสร้างห้องคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ ได้รับนโยบายจากอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ในการรวมกิจการโรงเรียนกุหลาบวัฒนาและกุหลาบวิทยาให้เป็นสหศึกษา  ได้สนับสนุนส่งเสริมให้   ครูได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาโท   ก่อตั้งวงโยธวาทิตและวงดนตรีไทยประจำโรงเรียน

พ.ศ. 2548  บาทหลวงสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาส มีบาทหลวงธนากร  เลาหบุตร เป็นผู้อำนวยการ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการ  ชั้นล่าง เริ่มดำเนินการในการรวมกิจการโรงเรียนกุหลาบวัฒนาเข้ากับกุหลาบวิทยา  โดยที่คณะอุร์สุลินได้ส่งมอบโรงเรียนกุหลาบวัฒนาคืนให้กับอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ในพิธีบูชาขอบพระคุณ วันที่ 25 มีนาคม 2548 รวมทั้งปรับสภาพต่างๆ ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

พ.ศ. 2549 บาทหลวงสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาส มีบาทหลวงอนุศักดิ์ กิจบำรุง   เป็นผู้อำนวยการ เริ่มกิจการโรงเรียนกุหลาบวิทยาเป็นแบบสหศึกษา มีการปรับภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบโรงเรียน เปิดรับสมัครนักเรียนก่อนปฐมวัย โรงเรียนได้ผ่านการประเมินคุณภาพสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภายนอกรอบสอง  จัดทำหลักสูตร  เตรียมสถานที่เตรียมบุคลากร สำหรับการเปิดการศึกษาขั้นปฐมวัยและมัธยมศึกษาตอนปลาย ส่งเสริมสนับสนุนในการพัฒนาบุคลากร   โดยร่วมกับคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย    และฝ่ายการศึกษาอัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ จัดอบรม พัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู  ปรับปรุงห้องวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 ห้อง และห้องคอมพิวเตอร์ จัดทำห้องซ้อมดนตรีสากล

พ.ศ. 2550  บาทหลวงสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาส   บาทหลวงอนุศักดิ์ กิจบำรุง เป็นผู้อำนวยการ  มีการปรับสภาพโรงอาหารและจัดทำอ่างล้างมือและแปรงฟันสำหรับนักเรียน สั่งซื้อโต๊ะอาหารให้เหมาะสมกับการใช้งาน ปรับภูมิทัศน์บริเวณโรงเรียน และปรับพื้นสนามใต้อาคารกุหลาบให้เป็นที่พักผ่อน จัดทำบันไดอาคารริมน้ำสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อความสะดวกและปลอดภัยกับการใช้อาคาร มีการปรับปรุงห้องพักครู โดยเพิ่มห้องพักครูอีก 1 ห้อง ส่งเสริมการตรวจสุขภาพบุคลากรประจำปี เข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และเป็นสถานที่สำหรับ      การจัดการอบรมพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครู โดยให้การสนับสนุนด้านสถานที่ ซึ่งจัดโดยฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑล กรุงเทพฯ ร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 พ.ศ.2551 บาทหลวงสุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาส บาทหลวงอนุศักดิ์ กิจบำรุง เป็นผู้อำนวยการปีที่ 3 มีการจัดทำหลังคาหน้าเวทีเพื่อเพิ่มพื้นที่ร่มให้มากขึ้น เปิดบริการสระว่ายน้ำ และห้องสมุดประชาชนตามนโยบายของเขตสัมพันธวงศ์  รวมทั้งปรับเปลี่ยนห้องเรียนชั้นอนุบาล 3 โดยจัดซื้อโต๊ะเรียนเพื่อให้เหมาะสมกับการเรียนการสอน ปรับปรุงระบบเครื่องเสียง ติดตั้งสัญญาณอินเทอร์เน็ตไร้สาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการสืบค้นข้อมูล       ด้านการศึกษา รวมทั้งการติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิด ครอบคลุมทั่วบริเวณโรงเรียน     เพื่อความเป็นระเบียบและความปลอดภัยของนักเรียนในโรงเรียน เข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยแสงธรรม ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา

พ.ศ. 2552 บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีแรก บาทหลวงอนุศักดิ์ กิจบำรุง เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่ 4 มีการจัดทำบอร์ดเรือนไทยเพื่อความสวยงามและอนุรักษ์ความเป็นไทย จัดทำห้องน้ำนักเรียนเพื่อสุขอนามัยที่ดี และเพิ่มจำนวนห้องให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน จัดทำหลังคาบริเวณอาคารอัญจลาให้มีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น ปรับพื้นที่สนามของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1- 2  และเป็นสัดส่วนมากขึ้น  ดำเนินการเข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยแสงธรรมในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 และยังปรับโครงสร้างการบริหารงานโดยเพิ่มฝ่ายนโยบายและแผนงาน เพื่อทำให้การบริหารงานของโรงเรียนมีความครอบคลุม คล่องตัว และ        มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มระบบ ICT ด้านต่างๆ โดยผ่านการใช้บัตรนักเรียน

พ.ศ. 2553  บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และเจ้าอาวาสเป็นปีที่สอง บาทหลวงอนุศักดิ์ กิจบำรุง เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่ห้า    ในปีการศึกษานี้มีการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการบริหารจัดการทั้งระบบ โดยเริ่มต้นในส่วนงานการเงิน งานวัดผล  งานพยาบาล  ฝ่ายกิจการนักเรียน  ฝ่ายวิชาการ  และปรับเปลี่ยนบัตรนักเรียนให้ใช้เป็นบัตรที่สามารถลงเวลาเรียนและเติมเงิน    เพื่อซื้ออาหารและสินค้าต่างๆ ภายในโรงเรียน ปรับปรุงห้องชั้น 5 อาคารอัญจลา ให้เป็น   ห้องประชุมที่สามารถรองรับการจัดประชุมได้ประมาณ 70 คน ห้องรับรองวิทยากร ห้องน้ำ ห้องพัก  อีกทั้งยังร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการ     รับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 

พ.ศ. 2554 บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต และเจ้าอาวาสวัดแม่พระลูกประคำเป็นปีที่สาม บาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็นปีแรก โดยในปีการศึกษานี้ได้เพิ่มเครื่องโปรเจคเตอร์ในห้องเรียน   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทำให้มีห้องเรียนที่มีเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนตั้งแต่      ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 – 6  มีการปรับบรรยากาศภายในโรงอาหารให้เป็นโรงอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และสวยงาม ขยายพื้นที่ทำกิจกรรมของระดับปฐมวัยให้กว้างขวางและเหมาะสมยิ่งขึ้น และโรงเรียนยังให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการจัดทำห้องสมุดสารานุกรมไทย อีกทั้งร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย        ในการรับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

พ.ศ. 2555 บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีที่สี่ และบาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่สอง ได้เพิ่มฝ่ายงานบุคลาภิบาล ขึ้น ปรับพื้นที่ริมน้ำฝั่งอนุบาล ให้เป็นพื้นที่สำหรับนักเรียนอนุบาลในการทำกิจกรรม และขยายสนามเด็กเล่นให้กว้างขึ้น นำหลักสูตร UK English มาเพิ่มเติมในการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล  ร่วมกับคณะ         ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาฝึกปฏิบัติการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 6

พ.ศ. 2556 บาทหลวงไพฑูรย์ หอมจินดา เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีที่ห้า และบาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่สาม ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานโดยรวมฝ่ายมาตรฐานคุณภาพการศึกษาและฝ่ายบุคลาภิบาล เป็นฝ่ายพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงพื้นที่ส่วนอนุบาล เช่น   จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนอนุบาล ปรับห้องนักเรียนเตรียมอนุบาล ขยายพื้นที่สนาม เป็นต้น จัดให้นักเรียนอนุบาล 1 – 3 เรียนภาษาจีนกับคุณครูที่มีวุฒิการศึกษาทางภาษาจีนโดยตรง อีกทั้งวิทยากรท้องถิ่นที่มีความชำนาญทางภาษาจีนยังมาจัดกิจกรรมให้กับนักเรียนอนุบาลอย่างต่อเนื่อง และนำหลักสูตร Fun Language มาใช้ในการจัดการเรียนการอสนสำหรับชั้นอนุบาล 1 – 2  และหลักสูตร UK English มาเพิ่มเติมในการจัดการเรียนการสอนระดับอนุบาล 3 และประถมศึกษา      ปีที่ 1  ติดเครื่องปรับอากาศในห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 – มัธยมศึกษาปีที่ 3 ติดวงจรปิดเพิ่มเติมโดยรอบโรงเรียน เพิ่มโทรทัศน์เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับนักเรียน ติดตั้งคอมพิวเตอร์เพื่อประชาสัมพันธ์วัดและโรงเรียน ดำเนินการเข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 7

พ.ศ. 2557 บาทหลวงประเสริฐ ตรรกเวศม์  เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีแรก และบาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่สี่ ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น สำนักอำนวยการ ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายกิจการนักเรียน และฝ่ายอนุบาล โดยในสำนักอำนวยการ ได้แบ่งการบริหารงานออกเป็น บริหารทั่วไป นโยบายและแผน พัฒนาบุคลากร บริการ การเงินและงบประมาณ งานสารสนเทศ  งานพัสดุ-ครุภัณฑ์ และ งานกำกับติดตามประเมินผล  นอกจากนี้ ยังได้จัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 และได้ปรับเปลี่ยนเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4  จัดห้องทำงานในส่วนงานต่างๆ ให้มีความสะดวกและคล่องตัว ยิ่งขึ้น ได้แก่ ห้องทะเบียน ห้องวัดผล             ห้องประชาสัมพันธ์ ห้องบัญชี-การเงิน และห้องสำนักอำนวยการ  จัดหลักสูตร Intensive English Program  ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 -  3 โดยเรียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษ ติดตั้งโทรทัศน์ในห้องเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 2  เพื่อการเรียนการสอน  ติดวงจรปิดเพิ่มเติมเพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยโดยรอบโรงเรียน  จัดให้นักเรียนทุกระดับชั้นเรียนรายวิชาหน้าที่พลเมืองในภาคเรียนที่ 2   อีกทั้งเข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 8

พ.ศ. 2558 บาทหลวงประเสริฐ ตรรกเวศม์  เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีที่สอง  และบาทหลวงอิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็นปีที่ห้า  ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารทั่วไป ฝ่ายนโยบายและแผน ฝ่ายการเงินการบัญชีและงบประมาณ ฝ่ายบุคลาภิบาล ฝ่ายบริการ  และฝ่ายอนุบาล ขยายหลักสูตร Intensive English Program ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  4 เรียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา  อีกทั้งวางแผนเปิด Intensive English Program ในชั้นอนุบาล 3 ในปีการศึกษาหน้า  ติดวงจรปิดเพิ่มเติมเพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยโดยรอบโรงเรียน  จัดกิจกรรมแรลลี่การกุศลเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และโรงเรียน    อีกทั้งเข้าร่วมกับคณะ        ครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 9

พ.ศ. 2559 บาทหลวงอดิศักดิ์ กิจบุญชู   เป็นผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาตและเจ้าอาวาสเป็นปีแรก  และบาทหลวงดร.อิทธิพล ศรีรัตนะ เป็นผู้อำนวยการเป็น    ปีที่หก  ได้ปรับโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น ฝ่ายสำนักอำนวยการ  ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายจิตตาภิบาล ฝ่ายปกครองและกิจการนักเรียน ฝ่ายบริหารทั่วไป และฝ่ายอนุบาล ขยายหลักสูตร Intensive English Program ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่  5 โดยเรียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นภาษาอังกฤษกับครูต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษา      อีกทั้งวางแผนเปิด Mini  English Program ในชั้นอนุบาล 1 และอนุบาล 3 ในปีการศึกษาหน้า  ปรับพื้นสนามอนุบาลใหม่  ติดวงจรปิดเพิ่มเติมเพื่อความเรียบร้อยและความปลอดภัยโดยรอบโรงเรียน  จัดกิจกรรมจำหน่ายบัตรการกุศลเพื่อการศึกษา เพื่อจัดหาทุนการศึกษาให้กับนักเรียน    อีกทั้งเข้าร่วมกับคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพมาจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 10

รายนามบาทหลวงเจ้าอาวาสและผู้ลงนามแทนผู้รับใบอนุญาต  ดังนี้
    พ.ศ. 2513 – 2519        บาทหลวงกิมฮั้ง        แซ่เล้า
    พ.ศ. 2519 – 2522        บาทหลวงเสวียง        ศุระศรางค์
    พ.ศ. 2522 – 2526        บาทหลวงบัณฑิต        ปรีชาวุฒิ
    พ.ศ. 2526 – 2532        บาทหลวงประวิทย์        พงษ์วิรัชไชย
    พ.ศ. 2532 – 2536        บาทหลวงอนันต์        เอี่ยมมโน
    พ.ศ. 2536 – 2537        บาทหลวงอดุลย์        คูรัตน์
    พ.ศ. 2537 – 2543        บาทหลวงวุฒิเลิศ        แห่ล้อม
    พ.ศ. 2543 – 2547        บาทหลวงศุภกิจ        เลิศจิตรเลขา
    พ.ศ. 2547 – 2552        บาทหลวงสุรสิทธิ์        ชุ่มศรีพันธุ์
    พ.ศ. 2552 – 2557        บาทหลวงไพฑูรย์        หอมจินดา
    พ.ศ. 2557 – 2559        บาทหลวงประเสริฐ    ตรรกเวศม์
    พ.ศ. 2559                    บาทหลวงอดิศักดิ์          กิจบุญชู

รายนามครูใหญ่/ผู้อำนวยการทำหน้าที่บริหารโรงเรียนโดยตรงตามลำดับ ดังนี้
    พ.ศ. 2491 – 2528        นายชัช            นาคะทัต
    พ.ศ. 2528 – 2530        บาทหลวงธนันชัย        กิจสมัคร
    พ.ศ. 2530 – 2533        บาทหลวงวิทยา        คู่วิรัตน์
    พ.ศ. 2533 – 2538        บาทหลวงศุภศิลป์        สุขสุศิลป์
    พ.ศ. 2538 – 2543        บาทหลวงวุฒิเลิศ        แห่ล้อม
    พ.ศ. 2543 – 2547        บาทหลวงศุภกิจ        เลิศจิตรเลขา
    พ.ศ. 2547                    บาทหลวงสุชาติ        อุดมสิทธิพัฒนา
    พ.ศ. 2548                    บาทหลวงธนากร        เลาหบุตร
    พ.ศ. 2549 – 2554        บาทหลวงอนุศักดิ์        กิจบำรุง
    พ.ศ. 2554 - ปัจจุบัน     บาทหลวงดร.อิทธิพล    ศรีรัตนะ